简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:วันนี้แอดเหยี่ยวนำบทความดี ๆ จากคุณ Alice Veronica มาฝากกันอีกแล้ว โดยเนื้อหาในครั้งนี้คือเรื่อง “ การใช้ Stop Loss ”
วันนี้แอดเหยี่ยวนำบทความดี ๆ จากคุณ Alice Veronica มาฝากกันอีกแล้ว โดยเนื้อหาในครั้งนี้คือเรื่อง “ การใช้ Stop Loss”
ทำไมถึงต้องเเนะนำเรื่อง Stop Loss คือเราต้องแพ้ให้เป็น ซึ่งการรู้จัก Stoploss หลายคนที่แพ้ตลาด คือไม่ยอมที่จะ Cut Loss หรือ Stop Loss เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า จุดที่เราซื้อขาย มันมีสิทธิ์ชนะ 50% และมีสิทธิ์แพ้ 50% เพราะฉะนั้น ถ้าเราคิดว่าทุกครั้งที่เราซื้อขายแล้วเราจะชนะ เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ซึ่ง Stoploss มีหลากหลายเเบบ วันนี้จึงขอยกตัวอย่าง 4 ข้อ ดังนี้
Percentage Stop : หรือ Equity Stop เป็นการ SL กำหนดว่าเรายอมขาดทุนกี่เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต เช่น หากเรามีเงินทุนอยู่ที่ 100 บาท เรารับความเสี่ยงได้สูงสุดที่ 10% ในกรณีถ้าเราโดน Stop Loss เราจะตัดขาดทุนที่ 10 บาท
Time Stop : เราจะนำมาใช้ในกรณีที่กราฟ Sideway ไม่ไปตามที่เราต้องการ Time Stop จะช่วยให้เราไม่เสียโอกาสการลงทุน การที่กราฟไม่ขยับบีบตัวแคบ ๆ นาน ๆ อาจจะทำให้เราเสียโอกาสไปลงทุนตัวอื่น ๆ
Chart Stop : จะเป็นการ Stop Loss ที่นิยมมาก ๆ จะนำมาใช้ควบคู่กับเทคนิคอลของเรา เช่น เราใช้เข้าออเดอร์ที่แนวต้าน เราจะ SL เหนือแนวต้าน ถ้าหลุดทะลุแนวต้านเราจะปิดออเดอร์ SL ไปตามระบบ
Trailing Stop : เราจะใช้กรณีที่เรากำไรเช่น เราได้กำไรมาแล้ว 10% แต่เราดูกราฟแล้วโอกาสที่จะได้กำไรมากกว่า 10% มีมากแต่ก็กลัวขาดทุน เราจึงใช้ TL เข้ามาช่วยในเรื่องนี้ เช่น กำไร 10% เราก็ตั้งล็อคกำไรไว้ที่ 7% ถ้ากราฟไม่ไปต่ออย่างน้อยเราก็ได้แน่ ๆ 7%
Percentage Stop จะเป็นจุดตัดขาดทุนตามเปอร์เซ็นต์ของเงินลงทุนที่ใช้เข้า Order เช่น หากเราสามารถรับความเสี่ยงได้สูงสุดที่ 3% หลังจากเข้าออเดอร์ หากราคามีการปรับตัวลงมาถึง 3% ก็จะยอม Cut Loss ออกไป หรืออีกแบบคือการกำหนดเปอร์เซ็นต์ขาดทุนสูงสุดจากเงินลงทุนแทน เช่น เรารับความเสี่ยงสูงสุดได้ที่ 1% ของเงินลงทุน หากเรามีเงินลงทุน 100,000 บาท เราจะ Cut Loss ขาดทุนออกไป หากเงินลงทุนลดต่ำลงกว่า 99,000 บาท
Chart Stop เราจะนำมาใช้ควบคู่กับเทคนิคอลของเรา เช่น เราใช้ออเดอร์ที่แนวต้าน เราจะ SL เหนือแนวต้าน ถ้าหลุดทะลุแนวต้านเราจะปิดออดเอร์ SL ไปตามระบบ
Time Stop เราจะนำมาใช้ในกรณีที่กราฟ Sideway ไม่ไปตามที่เราต้องการ Time Stop จะช่วยให้เรา ไม่เสียโอกาสการลงทุน การที่กราฟไม่ขยับ บีบตัวแคบ ๆ นาน ๆ อาจจะทำให้เราเสียโอกาสไปลงทุนตัวอื่น ๆ หรือแบบในรูป เราจะปิดตามรอบเวลา เช่น เราเข้า Buy ตั้งแต่บ่ายโมง แต่พอเวลาผ่านไปถึง 5 โมงเย็นกราฟยังไม่วิ่งไปไหน เราอาจจะใช้ Time Stop เพื่อปิดออเดอร์ก็ได้
Trailing stop เราจะใช้กรณีที่เราทำกำไรมาแล้ว 10% แต่เราดูกราฟแล้วเนี่ยโอกาสที่จะได้กำไรมากกว่า 10% มีมากแต่ก็กลัวขาดทุน เราจึงใช้ TL เข้ามาช่วยในเรื่องนี้ เช่น กำไร 10% ก็ตั้งล็อคกำไรไว้ที่ 7% ถ้ากราฟไม่ไปต่ออย่างน้อยเราก็ได้แน่ ๆ 7%
เรากำหนดหยุดเปอร์เซ็นต์ขาดทุนตามที่เรากำหนดไว้ ยกตัวอย่าง เรามีทุน 1,000USD เราต้องการหยุดขาดทุนที่ 5% ของเงินทุน และ 5% ของทุนเท่ากับ 50USD เพราะฉะนั้น ถ้ากราฟลงมาขาดทุนถึง 5% จะทำการ SL ทันที
ในตัวอย่างสมมุติ เราเข้าออเดอร์ที่ 1786.61 Stop Loss ที่ 1781.87 คิดเป็น 5% ของพอร์ตในกรณีที่เราออก Lots ที่ 0.12 เราจะเสียอยู่ที่ 48USD
หลังจากที่เราเข้าออเดอร์นั้นกราฟไม่สามารถขึ้นต่อได้ กราฟได้ลงมาโดน Stop Loss ขาดทุนที่ 5% ของพอร์ต ทำให้เงินทุนเหลือ 952๊USD
เราจะนำมาใช้ในจังหวะ SW นาน ๆ เพราะหลาย ๆ คน มักจะเจอปัญหา เงินจมไปกับการพักตัวของราคา ทำให้พลาดโอกาสไปเทรดตัวอื่น เราจึงใช้ Time Stop เข้ามาช่วย เช่น กราฟกำลังพักตัวในกรอบราคา 1747.63 กับ 1733.67 ถ้าวันนี้กราฟยังไม่ Breakout จะปิดออเดอร์แล้ว นี้คือการใช้ Time Stop
การใช้ Time Stop นั้นบางคนอาจจะปิดก่อนนอน หรือไม่แน่ใจกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเลยปิดก่อน หรือบางคนไม่ถือข้ามสัปดาห์
เราจะใช้ในตอนที่เรากำไรแล้ว การใช้งาน TL เช่น ในตัวอย่างเรากำไรมาแล้ว 600$ แต่เรามองว่ากราฟมีโอกาสที่จะลง เราอยากถือต่อ เราก็จะใช้ TL เข้ามาช่วย เราได้กำไร 600$ แล้วใช่ไหม เราก็ขยับ SL มาที่ 50% กำไรคือ 300$ ถ้ากราฟไม่ลงต่อ เราได้กำไรแน่ ๆ ที่ 300$ แบบนี้
ในกรณีกราฟลงต่อ
เราจะขยับตามทุก ๆ 50% ของกำไร เช่นในตัวอย่าง เราได้กำไร 1600$ เราจะขยับ TL มาที่ 50% กำไรคือ 800$ เราสามารถกำหนดเปอร์เซ็นต์ตามที่เรารับได้ อาจจะเอา 90% ของกำไรเลยก็ได้ เช่น ถ้ากราฟย่อขึ้นเกิน 10% TL จะทำการล็อคกำไรเลยในทันที
การตั้ง Stop Loss แบบ Chart Stop นั้น เราจะตั้งตามเทคนิคอล เช่น ในตัวอย่าง เราจะใช้เส้น MA50 เราจะตั้ง SL เหนือเส้น MA50 ถ้ากราฟทะลุเส้น MA เราจะยอมทันที อันนี้คือวิธีการใช้ Chart Stop
ซึ่งการใช้ Chart Stop นั้นมีหลายแบบ บางคนใช้ Fibo บางคนใช้ Demand&Supply แนวรับแนวต้าน
ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจากเพจ Alice Veronica
แอดเหยี่ยวหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย และที่สำคัญก่อนที่จะเลือกเทรดกับโบรกเกอร์ไหนก็ตาม แอดอยากให้ศึกษารายละเอียดให้ดีเสียก่อน จะได้ไม่มาเสียใจภายหลัง ถือว่าแอดเตือนแล้วนะ!!! อย่าลืมมาตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี !
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
บทความนี้นำเสนอคำแนะนำสำหรับนักเทรด Forex ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตลาดมีความผันผวนและสภาพคล่องลดลง ส่งผลให้การเทรดมีความเสี่ยงที่สูงขึ้น แอดเหยี่ยวแนะนำสัญญาณเตือน 3 ประการที่นักเทรดควรระมัดระวัง ได้แก่ ความผันผวนที่อาจสูงหรือต่ำเกินไป ข่าวเศรษฐกิจสำคัญที่อาจกระทบตลาด และความเสี่ยงจากการเทรดเกินตัว (Overtrading) พร้อมทั้งแนะนำวิธีการจัดการความเสี่ยง เช่น การลดขนาดการลงทุน การตั้ง Stop-Loss และ Take-Profit ให้ชัดเจน และการหยุดพักเมื่อรู้สึกเครียด เพื่อให้การเทรดในช่วงสงกรานต์เป็นไปอย่างปลอดภัยและประสบความสำเร็จ.
บทความนี้กล่าวถึงทางเลือกระหว่าง "เทรด" หรือ "เที่ยว" ของนักเทรดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งแม้ตลาด Forex จะไม่หยุดตามวันหยุดไทย แต่การตัดสินใจว่าจะใช้ช่วงเวลานี้ในการเทรดต่อหรือพักผ่อนก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและความพร้อมของแต่ละคน โดยแบ่งออกเป็นสองแนวทางหลักคือ การเทรดต่อเนื่องเพื่อจับโอกาสในตลาดที่เงียบ และการพักเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจและวางแผนระยะยาว บทความเน้นว่าทั้งสองทางเลือกต่างมีข้อดีและข้อควรระวัง พร้อมชี้ให้เห็นว่าความสำเร็จของนักเทรดไม่ได้ขึ้นอยู่กับการอยู่หน้าจอตลอดเวลา แต่คือการรู้เท่าทันตัวเองและเลือกทำสิ่งที่สอดคล้องกับเป้าหมายในช่วงเวลานั้นอย่างแท้จริง
บทความนี้นำเสนอเคล็ดลับการจัดการเงิน (Risk Management) สำหรับนักเทรด Forex ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตลาดอาจมีความผันผวนหรือสภาพคล่องลดลงจากวันหยุดในหลายประเทศ ผู้เขียนแนะนำวิธีลดความเสี่ยง เช่น การลดขนาดการลงทุน การตั้ง Stop-Loss และ Take-Profit อย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงการเปิดคำสั่งในช่วงตลาดปิด ใช้เครื่องมือช่วยเทรดอัตโนมัติ ควบคุมอารมณ์การเทรด และไม่ลืมที่จะพักผ่อนอย่างเหมาะสม โดยเน้นความสมดุลระหว่างการเทรดกับการใช้ชีวิต เพื่อให้สามารถรักษาพอร์ตได้มั่นคง พร้อมทั้งมีสุขภาพจิตที่ดีตลอดช่วงเทศกาล.
บทความนี้พาผู้อ่านไปสำรวจความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ ETO Markets ซึ่งแม้จะเริ่มเป็นที่พูดถึงในกลุ่มนักลงทุน แต่กลับมีเสียงสะท้อนด้านลบหลายประเด็น เช่น การใช้งานเว็บไซต์ที่ซับซ้อน ระบบฝาก–ถอนที่ล่าช้า ขาดการสนับสนุนภาษาไทย และค่าบริการที่สูงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง บทความจึงเน้นย้ำให้นักลงทุนตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเลือกใช้โบรกเกอร์ที่ยังไม่มีความมั่นคงเพียงพอ.
Trive
OANDA
FBS
Markets.com
FXTM
HFM
Trive
OANDA
FBS
Markets.com
FXTM
HFM
Trive
OANDA
FBS
Markets.com
FXTM
HFM
Trive
OANDA
FBS
Markets.com
FXTM
HFM