简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เมษายน 2568 กลายเป็นจุดเริ่มต้นความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ หลังนโยบายภาษีนำเข้าของอดีต ปธน. ทรัมป์ จุดชนวนความผันผวนในตลาดโลก พร้อมเปิดฉาก “สงครามเศรษฐกิจสองขั้ว” ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าระบบการเงินโลกกำลังเข้าสู่จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ นักลงทุนยุคใหม่ต้องปรับวิธีคิด และบริหารพอร์ตด้วยวินัยเพื่อรับมือโลกที่ไม่แน่นอน.
เมษายนที่ผ่านมา ไม่ใช่เดือนแห่งความสงบ แต่กลับเต็มไปด้วยสัญญาณอันตรายที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจโลก จุดเริ่มต้นของความปั่นป่วนครั้งนี้คือมาตรการภาษีของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2568 แม้จะมีการเลื่อนใช้จริงออกไปอีก 90 วันเพื่อเปิดทางเจรจากับประเทศต่างๆ แต่แรงสะเทือนของนโยบายก็ได้ซัดกระหน่ำตลาดการเงินไปเรียบร้อยแล้ว
ราคาหุ้น ทองคำ คริปโตเคอร์เรนซี และแม้แต่พันธบัตรสหรัฐฯ ล้วนเกิดความผันผวนรุนแรงแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นพร้อมกันมาก่อน ภาวะนี้สะท้อนชัดว่า โลกการลงทุนกำลังเปลี่ยนไป และกำลังเข้าสู่ “ระเบียบโลกใหม่” ที่ไม่สามารถใช้วิธีคิดแบบเดิมได้อีก
ศึกชิงบัลลังก์โลก: จีน VS สหรัฐฯ
สงครามการค้าเวอร์ชัน 2.0 ที่กำลังก่อตัวขึ้นนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องของการเก็บภาษี แต่คือสงครามระหว่างอำนาจเก่าอย่างสหรัฐฯ ที่ต้องการรักษาสถานะผู้นำโลก กับจีนที่มุ่งมั่นจะก้าวขึ้นมาแทนที่อย่างชัดเจน
สหรัฐฯ ต้องการปรับโครงสร้างทางการเงินเพื่อลดภาระหนี้ และตัดกำลังจีนไม่ให้แซงขึ้นมา ส่วนจีนเองก็ตอบโต้ด้วยการเร่งกระจายความสัมพันธ์ทางการค้า โดยหันไปจับมือกับกลุ่มประเทศ BRICS, ASEAN, ตะวันออกกลาง เพื่อกระจายความเสี่ยงและลดการพึ่งพาฝั่งตะวันตก
ผลลัพธ์ของการขับเคลื่อนในทิศทางนี้ คือ “โลกสองระบบ” ทางเศรษฐกิจและซัพพลายเชน ที่กำลังก่อตัวอย่างรวดเร็ว โลกกำลังเดินออกจากยุคโลกาภิวัตน์ที่มีศูนย์กลางเดียว และเข้าสู่ยุคแห่งการแข่งขันระหว่างสองขั้วมหาอำนาจเต็มรูปแบบ
เมื่อระบบการเงินโลกสั่นคลอน ไม่มีใครคุมเบรกได้อีกต่อไป
Ray Dalio นักลงทุนชื่อดังระดับโลก และผู้ก่อตั้ง Bridgewater กล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า “สิ่งที่น่ากลัวไม่ใช่ตลาด แต่คือโลกที่ไม่มีใครควบคุมเบรกได้” เขาเตือนว่าโลกกำลังก้าวเข้าสู่ความไม่แน่นอนที่ไม่มีแบบจำลองทางเศรษฐกิจใดเคยเจอมาก่อน และอาจไม่ใช่แค่ภาวะถดถอย (Recession) แต่เป็น “แรงสั่นสะเทือนระดับโครงสร้างของระบบการเงินโลก”
เขาวิเคราะห์ 3 ประเด็นสำคัญที่ควรจับตาอย่างใกล้ชิด:
นักลงทุนนับจากนี้ ต้องไม่ใช่แค่ “เล่นตามกระแส”
ภาวะเช่นนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของราคาขึ้นหรือลง แต่มันคือ “จุดเปลี่ยน” ที่นักลงทุนจำเป็นต้องปรับตัวทั้งแนวคิดและวิธีการจัดการพอร์ต
สิ่งสำคัญที่ควรยึดเป็นหลักมีเพียง 2 อย่าง:
เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป โลกกำลังเข้าสู่การจัดระเบียบใหม่อย่างลึกซึ้ง ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเงิน และอำนาจของประเทศต่างๆ นักลงทุนนับจากนี้ จะไม่สามารถเดินเกมแบบเดิมได้อีก และใครที่ยังใช้สูตรการลงทุนแบบเก่า...อาจไม่มีที่ยืนในโลกใหม่ใบนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก THE STANDARD WEALTH
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
เฟดกำลังเผชิญภาวะตัดสินใจลำบากหลังสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้า เสี่ยงกระตุ้นเงินเฟ้อและฉุดเศรษฐกิจชะลอตัว เจ้าหน้าที่เฟดมีความเห็นแตกต่างเรื่องเวลาลดดอกเบี้ย ขณะที่ความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจชะงักงันกลับมาอีกครั้ง เฟดยังคงระมัดระวังและเลือกที่จะรอดูท่าทีจากข้อมูลเศรษฐกิจเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจ.
Kiyosaki กลับมาอีกครั้งพร้อมคำเตือนแรง! เขาเผยสัญญาณเศรษฐกิจโลกอาจกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยครั้งใหญ่ — พร้อมย้ำว่า “นี่อาจไม่ใช่แค่ความกลัวเกินเหตุ” เพราะตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มชี้ชัดถึงความเปราะบางที่น่ากังวล แล้วเราควรกลัวหรือควรเตรียมฉลอง? มาร่วมเจาะลึกเหตุผล 3 ข้อที่ทำให้ Kiyosaki เชื่อว่า “พายุลูกใหญ่” กำลังมา อ่านต่อได้ในบทความนี้เลย!
เหตุการณ์ไฟฟ้าดับในสเปนและโปรตุเกสเผยให้เห็นจุดอ่อนของระบบการเงินดิจิทัล เมื่อทั้งการชำระเงิน อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์ล่มพร้อมกัน ทำให้ประชาชนเข้าถึงเงินไม่ได้ บทความนี้ตั้งคำถามถึงความพร้อมของยูโรดิจิทัลและระบบกลางในยามวิกฤต พร้อมชวนคิดเรื่องการกระจายความเสี่ยงในชีวิตจริง ไม่ใช่แค่ในพอร์ตลงทุน.
สัปดาห์นี้ตลาดการเงินจับตา กนง. อาจลดดอกเบี้ย, ข้อมูลแรงงานสหรัฐฯ และผลประกอบการหุ้นเทคฯ ใหญ่สหรัฐฯ เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าในกรอบ 33.05–33.80 บาทต่อดอลลาร์ ตลาดโลกผันผวนตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรป ลุ้นการลดดอกเบี้ย เศรษฐกิจไทยยังเผชิญแรงกดดัน แต่การเปิดรับความเสี่ยงในตลาดโลกอาจช่วยหนุนการลงทุนระยะสั้