บทคัดย่อ:ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินดอลลาร์ยังคงแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง จากความเชื่อมั่นว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะยังไม่รีบปรับลดดอกเบี้ย ขณะที่เงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่า จากแรงขายจ่ายเงินปันผลและกระแสเงินทุนไหลออกในตลาดบอนด์ นักลงทุนควรจับตารายงานเศรษฐกิจสหรัฐฯ และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกำหนดทิศทางเงินเฟ้อ ดอกเบี้ย และค่าเงินทั่วโลกในระยะถัดไป

ภาพรวมตลาดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ค่าเงินดอลลาร์ยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง จากความเชื่อมั่นว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะยังไม่เร่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระยะใกล้ ขณะเดียวกัน ความหวังเกี่ยวกับความคืบหน้าในการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับคู่ค้า และรายงานเศรษฐกิจที่ออกมาดีกว่าคาด ก็ช่วยสนับสนุนทิศทางเชิงบวกของดอลลาร์
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
นักลงทุนควรจับตาอย่างใกล้ชิดต่อ:
- รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลายรายการ ที่จะเป็นตัวแปรสำคัญต่อมุมมองนโยบายการเงิน
- ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด ซึ่งอาจสะท้อนท่าทีในการประชุมรอบถัดไป
- ผลประกอบการของหุ้นเทคโนโลยีฝั่งเอเชีย ที่จะส่งผลต่อกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายในภูมิภาค
แนวโน้มค่าเงินและความผันผวน
แม้เงินดอลลาร์จะแข็งค่ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ในระยะสั้นอาจเผชิญแรงกดดันให้เคลื่อนไหวในกรอบผันผวน (Two-Way Volatility) โดยขึ้นอยู่กับ:
- ทิศทางข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ หากยังออกมาดีกว่าคาด ดอลลาร์อาจมีแรงหนุนต่อ
- ความคาดหวังต่อนโยบายดอกเบี้ยเฟด
มุมมองต่อค่าเงินบาท
เงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง จาก:
- โมเมนตัมฝั่งอ่อนค่าที่แข็งแรงขึ้น
- แรงขายจากธุรกรรมจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนไทยให้แก่นักลงทุนต่างชาติ
- แนวโน้มการแข็งค่าของดอลลาร์
อย่างไรก็ดี ทิศทางเงินบาทยังต้องติดตามความเคลื่อนไหวของ:
- ค่าเงินดอลลาร์
- ราคาทองคำ
- ทิศทางของสกุลเงินอื่นในภูมิภาค
ฟันด์โฟลว์ต่างชาติ
คาดว่าอาจเห็นแรงซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยเพิ่มเติม ทว่าในตลาดพันธบัตร โดยเฉพาะพันธบัตรระยะสั้นและระยะยาว อาจเผชิญแรงขายทำกำไรจากนักลงทุนต่างชาติ
กรอบเงินบาทประเมินในสัปดาห์นี้ 32.95 – 33.75 บาทต่อดอลลาร์
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
- ฝั่งสหรัฐฯ – บรรดาผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ โดยเฉพาะ อัตราเงินเฟ้อ CPI และยอดค้าปลีก (Retail Sales) รวมถึงจับตาพัฒนาการของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับบรรดาประเทศคู่ค้า หลังล่าสุด สหรัฐฯ บรรลุข้อตกลงการค้าชั่วคราวกับจีน ซึ่งภาพดังกล่าวทำให้ ผู้เล่นในตลาดทยอยคลายกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงหนัก จนทำให้มีการปรับลดความคาดหวังต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟด จากที่เคยประเมินไว้ว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้ราว 3-4 ครั้ง เป็นเฟดอาจลดดอกเบี้ยได้ราว 2 ครั้ง และเฟดอาจเริ่มลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกันยายน จากที่ตลาดเคยมองไว้ในการประชุมเดือนกรกฎาคม นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะ ประธานเฟด Jerome Powell เพื่อประกอบการประเมินทิศทางนโยบายการเงินเฟด
- ฝั่งยุโรป – ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ ข้อมูลการจ้างงานและอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจอังกฤษในไตรมาสแรกของปีนี้ พร้อมรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ BOE นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อประกอบการประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของ ECB ด้วยเช่นกัน
- ฝั่งเอเชีย – ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสแรกของปีนี้ นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามความคืบหน้าของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้าฝั่งเอเชีย รวมถึงรอลุ้น รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน อย่าง บรรดาหุ้นเทคฯ ใหญ่ อย่าง Alibaba, Tencent และ JD.com ซึ่งจะส่งผลต่อบรรยากาศในตลาดการเงินเอเชียได้พอสมควร
- ฝั่งไทย – เรามองว่าผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามสถานการณ์ทางการเมืองของไทยที่เริ่มมีภาพของความไม่แน่นอนปรากฎขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนเป็นสำคัญ สำหรับ แนวโน้มเงินบาทเราประเมินว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทมีกำลังมากขึ้น หลังเงินบาทสามารถอ่อนค่าทะลุโซน 33.00 บาทต่อดอลลาร์ และโซน 33.30 บาทต่อดอลลาร์ ได้สำเร็จ อย่างไรก็ดี เงินบาทยังคงเผชิญความเสี่ยง Two-Way Volatility ขึ้นกับแนวโน้มเงินดอลลาร์ ราคาทองคำซึ่งอาจมีจังหวะรีบาวด์ขึ้นบ้าง (แม้จะยังคงอยู่ในช่วงของการพักฐาน Correction Phase) รวมถึงทิศทางบรรดาสกุลเงินฝั่งเอเชีย ที่อาจพอได้แรงหนุนจากอานิสงส์ข้อตกลงทางการค้าชั่วคราวระหว่างสหรัฐฯ กับ จีน ทั้งนี้ เงินบาทยังคงมีแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าอยู่ โดยในสัปดาห์ 6-9 พฤษภาคม เงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าจากโฟลว์ธุรกรรมจ่ายเงินปันผลให้กับนักลงทุนต่างชาติ ทว่า เงินบาทอาจพอได้แรงหนุนจากโฟลว์ธุรกรรมซื้อสินทรัพย์ไทย อย่าง หุ้นไทย จากบรรดานักลงทุนต่างชาติได้ แต่ฝั่งบอนด์อาจทยอยเห็นแรงขายทำกำไรสถานะลงทุนในบอนด์ไทย ในเชิงเทคนิคัลนั้นเงินบาทมีโอกาสกลับมายังอยู่ในแนวโน้มการอ่อนค่าหลังเงินบาทสามารถอ่อนค่าทะลุโซน 33.30 บาทต่อดอลลาร์เมื่อประเมินด้วยกลยุทธ์ Trend-Following ทั้งนี้ แนวรับของเงินบาท (USDTHB) อาจขยับขึ้นมาแถว 33.00 บาทต่อดอลลาร์ (แนวรับถัดไป 32.75-32.85 บาทต่อดอลลาร์) ส่วนโซนแนวต้านสำคัญจะอยู่ในช่วง 33.50 บาทต่อดอลลาร์ (แนวต้านถัดไป 33.75-33.85 บาทต่อดอลลาร์)
ขอบคุณข้อมูลจาก investing thailand
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
